ค้นหาบล็อกนี้
31 พฤษภาคม 2554
27 พฤษภาคม 2554
วิกฤติ...ปุ๋ยแพง คนไทยใช้ปุ๋ยไม่คุ้มเงิน
น้ำมันแพง...ปุ๋ยแพง จากปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 ราคาอยู่ที่ตันละ 11,000 บาท ขยับขึ้นเป็น 13,410-14,210 บาท...ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จากตันละ 14,000 บาท ขยับเป็น 15,671-16,342 บาท...ปุ๋ยสูตร 16-20-0 จากตันละ 11,500 บาท ขยับขึ้นเป็นตันละ 12,345-13,839 บาท
ปุ๋ยแพง...พืชผักอาหารในการดำรงชีวิต ต่างๆพลอยมีราคาแพงตามไปด้วย ด้วยปุ๋ยเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตอาหารทุกชนิด ไม่เว้นเนื้อสัตว์ เพราะต้องพึ่งปุ๋ยเพาะปลูกพืชมาทำอาหารเลี้ยงสัตว์
“แนว โน้มในอนาคตปุ๋ยจะมีราคาแพงขึ้นไปอีก เนื่องมาจากหลายปัจจัย หนึ่งนั้น ปุ๋ยบางส่วน ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยไนโตรเจน (N) ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของปุ๋ยตัวหลัก ผลิตมาจากก๊าซธรรมชาติ ที่นับวันจะมีราคาแพงขึ้นตามราคาน้ำมัน
น้ำมันมีราคา แพงขึ้น การเพาะปลูกพืชเพื่อผลิตพลังงานทดแทนมีมากขึ้น ความต้องการใช้ปุ๋ยจะมีเพิ่มขึ้น ประกอบกับประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ความต้องการใช้ปุ๋ยก็จะเพิ่มเป็นเงาตามตัว ในขณะที่ปุ๋ยตัวหลักอีก 2 ตัว ฟอสเฟต (P) กับโปแตสเซียม (K) ได้มาจากการขุดแร่ที่อยู่ในดินนับวันจะร่อยหรอหมดไปเรื่อยๆ ราคาปุ๋ยเลยขยับขึ้นไม่หยุด
แต่ปัญหาที่น่ากังวลสำหรับ บ้านเราก็คือ เราผลิตปุ๋ยเองไม่ได้ ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศอย่างเดียว ราคาปุ๋ยอยู่ในมือพ่อค้า ประเทศผู้ผลิตปุ๋ย นอกจากเราจะพึ่งพาปุ๋ยของตัวเองไม่ได้ การใช้ปุ๋ยในบ้านเราก็ใช้กันแบบฟุ่มเฟือย ใช้มากเกินความจำเป็นซะอีก
ต่อไปการเพาะปลูกผลิตอาหาร ของบ้านเราจะไปขายแข่งสู้กับใครได้ วันนี้เวียดนามสามารถขายข้าวแข่งเอาชนะเราได้ ขายข้าวได้ในราคาตันละ 3,000 บาท แม้จะอ้างว่าเวียดนามขายได้ถูกเพราะค่าแรงต่ำ แต่ค่าแรงนั้นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ขายข้าวได้ถูก ปุ๋ยเป็นต้นทุนผลิตอีกอย่างที่จะมองข้ามไม่ได้ และเวียดนามได้มองไกลไปข้างหน้า เตรียมการเอาชนะไทย ถึงขั้นไปลงทุนทำโรงงานผลิตปุ๋ยฟอสเฟต เอาแร่ฟอสเฟตมาจากประเทศโมร็อกโก
แต่เรานั้นเกษตรกรพึ่ง พาแต่ปุ๋ยนำเข้าแล้วยังมีต้นทุนในการใช้ปุ๋ยสูงมาก สูงเกินไปเพราะใช้ปุ๋ยไม่เป็น ทั้งที่ปุ๋ยทุกเม็ดที่คนไทยหว่านลงไปนั้น เป็นเงินที่เราต้องประเคนไปให้ต่างประเทศทั้งสิ้น แต่กลับได้ผลลัพธ์ไม่คุ้มค่าราคาปุ๋ยที่จ่ายไป”
ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดประเด็นปัญหาการใช้ปุ๋ยของไทย
ใช้ ฟุ่มเฟือยมากเกินความต้องการของพืช ไม่เพียงจะทำให้ต้นทุนในการเพาะปลูกพืชเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ยังทำให้ต้นทุนเรื่องยาฆ่าแมลงเพิ่มตามขึ้นมาอีกด้วย
เพราะ การใส่ปุ๋ยมากเกินไป อย่างปุ๋ยยูเรียที่ชาวนาใช้มากที่สุด ใส่มากไปส่งผลให้ต้นข้าวอวบอ้วนแต่อ่อนแอ ต้นข้าวล้มง่าย และต้นข้าวที่อวบอ้วนยังจะเป็นอาหารอันโอชะให้ศัตรูต้นข้าว มากัดกินได้อย่างเอร็ด อร่อย...เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดกันมากก็เพราะสาเหตุนี้
นอก จาก เท่านั้น ยังส่งปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของเกษตรกรเองอีกด้วย เพราะใช้ปุ๋ยมากเกิน ต้องใช้ยาฆ่าแมลง มากตาม...สารเคมีที่ใส่ลงไปในไร่นาจะตกค้างไหลซึมลงไปปน เปื้อนน้ำใต้ดิน และไหลลงแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆอีกต่างหาก
ใน ทางกลับกันใช้ปุ๋ยไม่ถูก ใส่ปุ๋ยบางตัวน้อยไป เช่น ใส่ปุ๋ยโปแตสเซียม (K) น้อยไป เพราะชาวนาใส่ปุ๋ยโดยไม่รู้ว่าคุณภาพดินของตัวเองเป็น อย่างไร ขาดธาตุอาหารตัวใดมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากเคยชินกับการใส่แต่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ปุ๋ยตัว K ไม่ค่อยใส่กัน จึงทำให้ เมล็ดข้าวลีบ...ปัญหานี้มีมากในภาคอีสาน เพราะดินไม่ดี เป็นดินทรายที่ขาดโปแตสเซียม ไม่เหมือนดินเหนียว ดินดำ จะมีโปแตสเซียมเยอะ ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยตัว K ก็ได้
“ปัญหา หลักเรื่องปุ๋ยในบ้านเรา เกษตรกรยังคงใช้วิธีแบบทำตามกันมา ไม่ได้เอาวิชาการใช้เลย การใส่ปุ๋ยที่มีการทำกันออกมาขายหลายสูตร ก็ใส่กันแบบลองผิดลองถูก หรือไม่ก็ทำตามที่เขาว่ากันมา โดยไม่รู้ว่า ที่ดินจะทำการเพาะปลูกนั้น ขาดธาตุอาหารอะไรบ้างไม่เคยรู้ว่า ดินแต่ละประเภท แต่ละพื้นที่มีธาตุอาหารไม่เหมือนกัน และมีความต้องการปุ๋ยไม่เท่ากัน
จะ ปลูกพืชใส่ปุ๋ยให้ได้ผลคุ้มกับเม็ดเงิน เกษตรกรจำเป็นต้องเอาวิชาการมาใช้ด้วย ถึงจะปลูกพืชได้แบบมืออาชีพ อนาคตเกษตรกรไทยถึงจะผลิตอาหารขายแข่งกับประเทศอื่นได้ ไม่ใช่ทำกันแบบตามมีตามเกิดเหมือนในอดีต”
หนทางที่จะ แก้ปัญหานี้ ศ.ทัศนีย์ บอกว่า เกษตรกรต้องใช้ “ปุ๋ยสั่งตัด”...ก่อนจะลงมือเพาะปลูก เกษตรกรต้องสำรวจตรวจวัดที่ดินของตัวเองเสียก่อนว่า มีธาตุอาหารหลัก 3 ตัว (N-P-K) มากน้อยแค่แค่ไหน
โดยเกษตรกร ให้หมอดินเก็บตัวอย่าง ส่งไปให้กรมพัฒนาที่ดิน หรือสถาบันการศึกษาทางการเกษตรต่างๆ ช่วยวิเคราะห์ให้ได้ แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลารอผลวิเคราะห์ที่ชักช้าเนิ่นนาน อาจใช้ “ชุดตรวจสอบ N-P-K ในดินแบบรวดเร็ว” ที่ ศ.ทัศนีย์ และคณะได้ประดิษฐ์ขึ้นมาก็ได้
เมื่อรู้ว่าที่ดินของตัว เองมีธาตุอาหารมากน้อยแค่ไหน จากนั้นก็สั่งปุ๋ยให้ได้ขนาดที่เหมาะสมกับคุณภาพของดินที่จะ เพาะปลูก
และจากการนำ “ปุ๋ยสั่งตัด” ไปทดลองใช้ในพื้นที่ต่างๆ ปรากฏว่า ไม่เพียงช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนค่าซื้อปุ๋ยได้แล้ว ยังทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก
อย่างปี 2553 ผู้นำเกษตรกรในเขตชลประทาน ต.ห้วยขมิ้น อ.หนองแค จ.สระบุรี ได้นำเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดไปใช้กับนาข้าวในพื้นที่ 571 ไร่
ปรากฏ ว่า...จากเดิมที่เคยจ่ายค่าปุ๋ย 969 บาทต่อไร่...ค่าปุ๋ยลดลงมาเหลือแค่ 463 บาทต่อไร่...จ่ายน้อยลงไร่ละ 506 บาท
ในขณะที่ผลผลิต เดิมใช้ปุ๋ยตามความเคยชินได้ข้าวไร่ละ 750 กก. แต่พอใช้ปุ๋ยสั่งตัดได้ผลผลิตเพิ่มมาเป็นไร่ละ 925 กก. เพิ่มขึ้นมา 175 กก.ต่อไร่
ที่สำคัญใช้ปุ๋ยตามสั่งต้น ข้าวแข็งแรง ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้องจ่ายไร่ละ 300 บาท ไม่ต้องควักจ่ายอีกต่างหาก
ไม่เพียงใช้ได้ผลกับข้าว พืชอื่นๆ ก็ใช้ได้ผล...นำไปใช้กับการปลูกข้าวโพด ในพื้นที่ 4 ตำบลของ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก จากเดิมเคยจ่ายค่าปุ๋ย 1,170 บาทต่อไร่ ใช้ปุ๋ยสั่งตัด ค่าปุ๋ยเหลือแค่ไร่ละ 925 บาท รายจ่ายลดไปไร่ละ 245 บาท
ผลผลิตใช้ปุ๋ยแบบเก่าได้ข้าว โพด ไร่ละ 1,345 กก. ใช้ปุ๋ยสั่งตัดได้ผลผลิตเพิ่มมาเป็นไร่ละ 1,577 กก.ได้ผลผลิตเพิ่ม ไม่มากมายแค่ไร่ละ 232 กก.
แต่บอกไว้ก่อนปุ๋ยสั่งตัดนี่...ไม่เหมือนโครงการปุ๋ยลดต้นทุนของรัฐบาล
ที่ รัฐบาลกำลังทำนั้น เป็นปุ๋ยเสื้อโหล...วิเคราะห์ดินแบบกว้างๆ หยาบๆ เลยได้เสื้อโหล เสื้อขนาดเดียวกันใส่ได้หลายคน
ไม่ เหมือนปุ๋ยสั่งตัด...ตรวจวิเคราะห์ดินแบบละเอียด ที่ดินใครที่ดินมัน เลยได้เสื้อ ได้สูตรปุ๋ยพอดีเฉพาะตัวในแบบของใครของมัน
ความชัวร์ ความแม่นยำในการให้ปุ๋ย...ย่อมต่างกัน...
ที่มาของข่าว http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/174264
ปุ๋ยแพง...พืชผักอาหารในการดำรงชีวิต ต่างๆพลอยมีราคาแพงตามไปด้วย ด้วยปุ๋ยเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตอาหารทุกชนิด ไม่เว้นเนื้อสัตว์ เพราะต้องพึ่งปุ๋ยเพาะปลูกพืชมาทำอาหารเลี้ยงสัตว์
“แนว โน้มในอนาคตปุ๋ยจะมีราคาแพงขึ้นไปอีก เนื่องมาจากหลายปัจจัย หนึ่งนั้น ปุ๋ยบางส่วน ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยไนโตรเจน (N) ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของปุ๋ยตัวหลัก ผลิตมาจากก๊าซธรรมชาติ ที่นับวันจะมีราคาแพงขึ้นตามราคาน้ำมัน
น้ำมันมีราคา แพงขึ้น การเพาะปลูกพืชเพื่อผลิตพลังงานทดแทนมีมากขึ้น ความต้องการใช้ปุ๋ยจะมีเพิ่มขึ้น ประกอบกับประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ความต้องการใช้ปุ๋ยก็จะเพิ่มเป็นเงาตามตัว ในขณะที่ปุ๋ยตัวหลักอีก 2 ตัว ฟอสเฟต (P) กับโปแตสเซียม (K) ได้มาจากการขุดแร่ที่อยู่ในดินนับวันจะร่อยหรอหมดไปเรื่อยๆ ราคาปุ๋ยเลยขยับขึ้นไม่หยุด
ต่อไปการเพาะปลูกผลิตอาหาร ของบ้านเราจะไปขายแข่งสู้กับใครได้ วันนี้เวียดนามสามารถขายข้าวแข่งเอาชนะเราได้ ขายข้าวได้ในราคาตันละ 3,000 บาท แม้จะอ้างว่าเวียดนามขายได้ถูกเพราะค่าแรงต่ำ แต่ค่าแรงนั้นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ขายข้าวได้ถูก ปุ๋ยเป็นต้นทุนผลิตอีกอย่างที่จะมองข้ามไม่ได้ และเวียดนามได้มองไกลไปข้างหน้า เตรียมการเอาชนะไทย ถึงขั้นไปลงทุนทำโรงงานผลิตปุ๋ยฟอสเฟต เอาแร่ฟอสเฟตมาจากประเทศโมร็อกโก
แต่เรานั้นเกษตรกรพึ่ง พาแต่ปุ๋ยนำเข้าแล้วยังมีต้นทุนในการใช้ปุ๋ยสูงมาก สูงเกินไปเพราะใช้ปุ๋ยไม่เป็น ทั้งที่ปุ๋ยทุกเม็ดที่คนไทยหว่านลงไปนั้น เป็นเงินที่เราต้องประเคนไปให้ต่างประเทศทั้งสิ้น แต่กลับได้ผลลัพธ์ไม่คุ้มค่าราคาปุ๋ยที่จ่ายไป”
ใช้ ฟุ่มเฟือยมากเกินความต้องการของพืช ไม่เพียงจะทำให้ต้นทุนในการเพาะปลูกพืชเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ยังทำให้ต้นทุนเรื่องยาฆ่าแมลงเพิ่มตามขึ้นมาอีกด้วย
เพราะ การใส่ปุ๋ยมากเกินไป อย่างปุ๋ยยูเรียที่ชาวนาใช้มากที่สุด ใส่มากไปส่งผลให้ต้นข้าวอวบอ้วนแต่อ่อนแอ ต้นข้าวล้มง่าย และต้นข้าวที่อวบอ้วนยังจะเป็นอาหารอันโอชะให้ศัตรูต้นข้าว มากัดกินได้อย่างเอร็ด อร่อย...เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดกันมากก็เพราะสาเหตุนี้
นอก จาก เท่านั้น ยังส่งปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของเกษตรกรเองอีกด้วย เพราะใช้ปุ๋ยมากเกิน ต้องใช้ยาฆ่าแมลง มากตาม...สารเคมีที่ใส่ลงไปในไร่นาจะตกค้างไหลซึมลงไปปน เปื้อนน้ำใต้ดิน และไหลลงแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆอีกต่างหาก
ใน ทางกลับกันใช้ปุ๋ยไม่ถูก ใส่ปุ๋ยบางตัวน้อยไป เช่น ใส่ปุ๋ยโปแตสเซียม (K) น้อยไป เพราะชาวนาใส่ปุ๋ยโดยไม่รู้ว่าคุณภาพดินของตัวเองเป็น อย่างไร ขาดธาตุอาหารตัวใดมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากเคยชินกับการใส่แต่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ปุ๋ยตัว K ไม่ค่อยใส่กัน จึงทำให้ เมล็ดข้าวลีบ...ปัญหานี้มีมากในภาคอีสาน เพราะดินไม่ดี เป็นดินทรายที่ขาดโปแตสเซียม ไม่เหมือนดินเหนียว ดินดำ จะมีโปแตสเซียมเยอะ ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยตัว K ก็ได้
“ปัญหา หลักเรื่องปุ๋ยในบ้านเรา เกษตรกรยังคงใช้วิธีแบบทำตามกันมา ไม่ได้เอาวิชาการใช้เลย การใส่ปุ๋ยที่มีการทำกันออกมาขายหลายสูตร ก็ใส่กันแบบลองผิดลองถูก หรือไม่ก็ทำตามที่เขาว่ากันมา โดยไม่รู้ว่า ที่ดินจะทำการเพาะปลูกนั้น ขาดธาตุอาหารอะไรบ้างไม่เคยรู้ว่า ดินแต่ละประเภท แต่ละพื้นที่มีธาตุอาหารไม่เหมือนกัน และมีความต้องการปุ๋ยไม่เท่ากัน
หนทางที่จะ แก้ปัญหานี้ ศ.ทัศนีย์ บอกว่า เกษตรกรต้องใช้ “ปุ๋ยสั่งตัด”...ก่อนจะลงมือเพาะปลูก เกษตรกรต้องสำรวจตรวจวัดที่ดินของตัวเองเสียก่อนว่า มีธาตุอาหารหลัก 3 ตัว (N-P-K) มากน้อยแค่แค่ไหน
โดยเกษตรกร ให้หมอดินเก็บตัวอย่าง ส่งไปให้กรมพัฒนาที่ดิน หรือสถาบันการศึกษาทางการเกษตรต่างๆ ช่วยวิเคราะห์ให้ได้ แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลารอผลวิเคราะห์ที่ชักช้าเนิ่นนาน อาจใช้ “ชุดตรวจสอบ N-P-K ในดินแบบรวดเร็ว” ที่ ศ.ทัศนีย์ และคณะได้ประดิษฐ์ขึ้นมาก็ได้
เมื่อรู้ว่าที่ดินของตัว เองมีธาตุอาหารมากน้อยแค่ไหน จากนั้นก็สั่งปุ๋ยให้ได้ขนาดที่เหมาะสมกับคุณภาพของดินที่จะ เพาะปลูก
และจากการนำ “ปุ๋ยสั่งตัด” ไปทดลองใช้ในพื้นที่ต่างๆ ปรากฏว่า ไม่เพียงช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนค่าซื้อปุ๋ยได้แล้ว ยังทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก
อย่างปี 2553 ผู้นำเกษตรกรในเขตชลประทาน ต.ห้วยขมิ้น อ.หนองแค จ.สระบุรี ได้นำเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดไปใช้กับนาข้าวในพื้นที่ 571 ไร่
ปรากฏ ว่า...จากเดิมที่เคยจ่ายค่าปุ๋ย 969 บาทต่อไร่...ค่าปุ๋ยลดลงมาเหลือแค่ 463 บาทต่อไร่...จ่ายน้อยลงไร่ละ 506 บาท
ที่สำคัญใช้ปุ๋ยตามสั่งต้น ข้าวแข็งแรง ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้องจ่ายไร่ละ 300 บาท ไม่ต้องควักจ่ายอีกต่างหาก
ไม่เพียงใช้ได้ผลกับข้าว พืชอื่นๆ ก็ใช้ได้ผล...นำไปใช้กับการปลูกข้าวโพด ในพื้นที่ 4 ตำบลของ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก จากเดิมเคยจ่ายค่าปุ๋ย 1,170 บาทต่อไร่ ใช้ปุ๋ยสั่งตัด ค่าปุ๋ยเหลือแค่ไร่ละ 925 บาท รายจ่ายลดไปไร่ละ 245 บาท
ผลผลิตใช้ปุ๋ยแบบเก่าได้ข้าว โพด ไร่ละ 1,345 กก. ใช้ปุ๋ยสั่งตัดได้ผลผลิตเพิ่มมาเป็นไร่ละ 1,577 กก.ได้ผลผลิตเพิ่ม ไม่มากมายแค่ไร่ละ 232 กก.
แต่บอกไว้ก่อนปุ๋ยสั่งตัดนี่...ไม่เหมือนโครงการปุ๋ยลดต้นทุนของรัฐบาล
ที่ รัฐบาลกำลังทำนั้น เป็นปุ๋ยเสื้อโหล...วิเคราะห์ดินแบบกว้างๆ หยาบๆ เลยได้เสื้อโหล เสื้อขนาดเดียวกันใส่ได้หลายคน
ไม่ เหมือนปุ๋ยสั่งตัด...ตรวจวิเคราะห์ดินแบบละเอียด ที่ดินใครที่ดินมัน เลยได้เสื้อ ได้สูตรปุ๋ยพอดีเฉพาะตัวในแบบของใครของมัน
ความชัวร์ ความแม่นยำในการให้ปุ๋ย...ย่อมต่างกัน...
ที่มาของข่าว http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/174264
ใช้ BeztDM กับนาข้าวที่ราชบุรี
ช่วงนี้ เรายังมีการทอสอบการใ้ช้ BeztDM กับแปลงนาข้าว มาครั้งนี้เราไปทดลองที่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ซึ่งผลที่ออกมาอยู่ในขั้นพอใจ เพราะเจ้าของนายอมรับว่า ประหยัดปุ๋ย และค่าใช้จ่ายได้จริง
พี่แมวเจ้าของนาข้าวที่ราชบุรี ที่ทดลองใช้ BeztDM กับนาข้าว
ป้ายปักประชาสัมพันธ์ที่นาข้าวที่นั่น
ภาพเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่าแปลงที่ใช้ BeztDM
ต้นข้าวจะสูงกว่าจนสังเกตได้ด้วยตาเปล่า
ข้าวเริ่มแทงยอด
และลำต้นสูงแข็งแรง
อีกไม่นานก็พร้อมเก็บเกี่ยว
(โปรดติดตามผลตอนเก็บเกี่ยวในครั้งต่อไป)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)