ค้นหาบล็อกนี้

รูดอล์ฟ สไตเนอร์

รูดอล์ฟ สไตเนอร์

ปี 1924 รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ได้ค้นค้นการทำฟาร์มแบบไบโอไดนามิค (Biodynamic) และสวน คือการรวมเป็นหนึ่งเดียวระหว่างเกษตรกรรมกับระบบนิเวศของโลก ด้วยสิ่งมีชีวิต 

 แนวคิดของ รูดอล์ฟ สไตเนอร์
เกี่ยวกับ สูตรธาตุทั้ง 4

การเกษตรแบบไบโอไดนามิค (Biodynamic) ป็นวิถีการดำรงชีวิต และวิธีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติโดยตรง สนับสนุนให้เกษตรกรมีสามัญสำนึกที่ดี โดยคำนึงถึงภูมิทัศน์ และการพัฒนาภายในของแต่ละคน

Rudolf Steiner (GA 327, "Agricultural Course", 2nd Lecture.)
"Now a farm comes closest to its own essence when it can be conceived of as a kind of independent individuality, a self-contained entity. In reality, every farm ought to aspire to this state of being a self-contained individuality.

150 ปี รูดอล์ฟ สไตเนอร์

          วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1861 ได้นำ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ มาสู่โลกในฐานะชาวออสเตรียที่ไม่มีใครรู้จัก  หลายสิบปีต่อมาเขาได้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งวัฒนธรรมใหม่เอาไว้ นำเสนอมุมมองใหม่ในความเป็นมนุษย์  เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวได้งอกงามแพร่พันธุ์ไปทั่วทุกมุมโลก  ทุกวันนี้เราจะพบผู้คนมากมาย หน่วยงานนับหมื่น ที่นำแนวทางมนุษยปรัชญาของสไตเนอร์มาใช้แก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของโลก  เป็นต้นว่า การศึกษา (วอลดอร์ฟ) การแพทย์ การศึกษาบำบัด การเกษตร (Biodynamic) เศรษฐศาสตร์ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ องค์กร ฯลฯ
          ปี 2011 จะครบรอบ 150 ปีรูดอล์ฟ สไตเนอร์  จะมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองตลอดทั้งปีตามประเทศต่าง ๆ  อาทิ
           Richard Hillinger ศิลปินชาวเยอรมันอุทิศ  “ พิราบแห่งสันติภาพ “ แด่รูดอล์ฟ สไตเนอร์ เนื่องในวาระครบรอบ 150 ปี  พิราบบรอนซ์คาบกิ่งมะกอกนี้  เขาทำขึ้น 30 ตัวเมื่อปี 2008 เพื่อฉลองครบรอบ 60 ปี ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  ซึ่งมี 30 ข้อ และส่งพิราบแต่ละตัวแก่บุคคลหรือสถาบันทีมีบทบาทโดดเด่นในการเสริมสร้างสันติภาพ  สิทธิมนุษยชน  และประชาธิปไตย  ในบรรดาผู้ที่เคยได้รับพิราบแห่งสันติภาพมี ทะไลลามะ อองซานซูจี  อาร์คบิชอปเดสมอนด์ตูตู   Lech Walesa อดีตประธานาธิบดีโปแลนด์, Sri Aurobindo, Friedrich Schiller, Muhammad Yunus
           วันที่ 25 กุมภาพันธ์  2011 จะมีการปล่อยพิราบขาว 150 ตัวที่สถานีรถไฟ Kraljevec  ถิ่นกำเนิดของรูดอล์ฟ สไตเนอร์  ซึ่งปัจจุบันอยู่ในโครเอเชีย
           พิธีเปิดงานฉลองอย่างเป็นทางการ
          มนุษยปรัชญาสมาคมออสเตรีย ร่วมกับหอจดหมายเหตุรูดอล์ฟ สไตเนอร์  ดอร์นัค  จะจัดพิธีเปิดงานฉลองอย่างเป็นทางการขึ้น ณ หอสมุดแห่งชาติออสเตรียที่เวียนนา  ในวันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2011
          รถไฟขบวนพิเศษรูดอล์ฟ สไตเนอร์
         ทีมริเริ่มของหอจดหมายเหตุรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ร่วมมือกับมนุษยปรัชญาสมาคมออสเตรียและเยอรมัน วางแผนจัดรถไฟขบวนพิเศษนี้ขึ้น  โดยผ่านสถานที่สำคัญในชีวิตวัยเยาว์ของสไตเนอร์  ออกจากโคโลญในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2011  ผ่านมิวนิค Kraljevec ถึงปลายทางที่เวียนนาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์  เข้าร่วมพิธีเปิดงานฉลองที่หอสมุดแห่งชาติออสเตรีย  วันรุ่งขึ้นออกจากเวียนนากลับโคโลญ  เปิดจำหน่ายบัตรตั้งแต่ตุลาคม 2010  แล้ว  รถที่ใช้ คือ InterRegio ซึ่งออกแบบโดยได้รับอิทธิพลจาก รูดอล์ฟ สไตเนอร์
          นอกจากนี้  รถไฟเที่ยวอื่นๆ ไปไวมาร์ เวียนนา และ โบโลญา ในเดือนมิถุนายน สิงหาคม และกันยายน  กำลังอยู่ระหว่างเตรียมการ
           I am the Image of the World
          นิทรรการภาพวาดบนกระดานดำของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ที่พิพิธภัณฑ์ Liner   วันที่ 29 มกราคม - 19 มิถุนายน 2011
          ฉลองครบรอบ 3 เหตุการณ์
         นอกจาก Rudolf Steiner House ที่อังกฤษจะฉลองครบรอบ 150 ปี รูดอล์ฟ สไตเนอร์ แล้ว  ยังฉลองครบรอบ 100 ปี  ของ Calendar of the Soul ซึ่งเป็นบทกลอนที่สไตเนอร์ให้ไว้สำหรับแต่ละสัปดาห์ในรอบปี และ Karl KÖnig วาดภาพประกอบกลอนแต่ละบทไว้ทั้งหมด 52 บท 52 ภาพ  โดยนำมาจัดแสดงไว้ระหว่างวันที่ 15 – 25 มกราคม 2011  พร้อมกันนั้นในปีหน้านี้ยังครบรอบ 70 ปี ของ Camphill อันเป็นสถาบันการศึกษาบำบัดตามแนวทางมนุษยปรัชญา ซึ่ง  Dr. Karl KÖnig   ริเริ่มขึ้นที่สก๊อตแลนด์เป็นแห่งแรกก่อนที่จะแพร่ออกไปในนานาประเทศอีกด้วย
          หนังสือ “Anthroposophical World Social Forum”  ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานบริการสังคมตามส่วนต่างๆ ของโลกที่เกิดจากการผลักดันของผู้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากมนุษยปรัชญา  ทำงานร่วมกับชุมชนในประเทศต่างๆ  เพื่อช่วยยกระดับความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตของผู้ที่ถูกละเลยทอดทิ้ง  ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ โรคเรื้อน HIV, AIDS  เด็กร่อนเร่ กำพร้า นักโทษ ผู้ประสบภัยจากธรรมชาติหรือมนุษย์ วัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง พวกติดยา ฯลฯ  หนังสือคาดว่าจะพิมพ์เสร็จราวปลายเดือนเมษายน 2011  
ก่อนหน้านี้ Wolfgang Zundick  ก็เขียนหนังสือ  “Rudolf Steiner in Vienna” ตีพิมพ์ออกมาตั้งแต่ปี 2010  โดยได้รับความสนับสนุนจากฝ่ายวัฒนธรรม นครเวียนนา
          Rudolf Steiner Cosmos
          นิทรรศการแฝด Rudolf Steiner – The Alchemy of the Everyday และ Rudolf Steiner and Contemporary Art  ซึ่งขณะนี้แสดงอยู่ที่ Kunstmuseum Wolfsburg  เป็นนิทรรศการที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับแต่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดมา  มีผู้เข้าชมจากทั่วสารทิศ  จนต้องขยายเวลาต่อไปอีก 7 สัปดาห์  ก่อนจะย้ายไปจัดแสดงที่ Kunstmuseum Stuttgart ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ - 22 พฤษภาคม 2011  และ 1 กันยายน 2011 - เมษายน 2012  ที่  Vitra Design Museum
          WOW Day 2011
         ทุกๆ ปี นักเรียนวอลดอร์ฟในยุโรป โดยเฉพาะเยอรมัน  จะทำงานหาทุนให้เด็กๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือตามส่วนต่างๆ ของโลกตามโครงการ Waldorf One World  มูลนิธิคุ้มครองเด็กในประเทศไทยก็เคยได้รับทุนจากโครงการนี้ตามคำแนะนำของปัญโญทัยเมื่อปี 1999
         ในปี  2011 จะเป็นครั้งแรกที่ WOW Day ดำเนินไปพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 29 กันยายน เพื่อเฉลิมฉลอง 150 ปี  รูดอล์ฟ สไตเนอร์
          ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง  “The Challenge of Rudolf Steiner"
          Jonathan Stedall นักสร้างภาพยนตร์สารคดีซึ่งเคยทำงานกับ BBC มานาน   “In Need of Special Care"  ภาพยนตร์ที่เขาสร้างเกี่ยวกับการศึกษาบำบัดแนวมนุษยปรัชญาในอังกฤษ  ได้รับ British Film Academy Documentary Award ปี 1968  ขณะนี้เขากำลังหาทุนสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตและมรดกของรูดอล์ฟ สไตเนอร์
           การสัมมนา บรรยาย ประชุมตามประเทศต่างๆ  รวมทั้งการสัมมนามนุษยปรัชญาในภาคพื้นเอเซีย-แปซิฟิค  ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 28-30 เมษายน 2011 ต่อด้วยการสัมมนาครูวอลดอร์ฟเอเชีย 30 เมษายน – 8 พฤษภาคม ที่อินเดีย และการสัมมนามนุษยปรัชญาในประเทศไทยในปีหน้าด้วย