ค้นหาบล็อกนี้

13 ธันวาคม 2553

การอบรมน้ำหมักชีวภาพอย่างเต็มรูปแบบที่บ้านโป่งสำราญ ต.ห้วยพิชัย อ.ปากชม จ.เลย

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2010 ทีมงาน BeztDM Farming จัดกิจกรรมอย่างเต็มรูปแบบที่บ้านโป่งสำราญ ต.ห้วยพิชัย อ.ปากชม จ.เลย โดยเริ่มจากการบรรยายเรื่อง "ปัญหาโลกร้อนกับประเทศไทย" จากนั้นก็ฟังเรื่อง "การหมักน้ำชีวภาพด้วย BeztDM" 

มีเกษตรกร 2 ท่านที่มาร่วมบรรยายแบ่งปันประสบการณ์ใช้น้ำหมัก BeztDM กับแปลงผัก นาข้าว และต้นยาง นั่นคือคุณสมัย และอ.ต่อ

ช่วงบ่ายได้ทำการหมักน้ำหมักชีวภาพด้วย BeztDM ร่วมกันโดยใช้ส้มโอที่มีอยู่ในไร่ และฝึกทำน้ำยาเอนกประสงค์ด้วยน้ำหมัก BeztDM

 นายก อบต.ห้วยพิชัย เป็นประธานพิธีกล่าวเปิดงานฝึกอบรมชาวบ้าน

สถานที่ที่ใช้ในการอบรมคือคจ.โป่งสำราญ

อ.อภิรักษ์ วิทยากรประจำรายการนี้
สอนเรื่องผลกระทบของภาวะโลกร้อน

ชาวบ้านกว่า 100 คนเข้าร่วมอบรม

คุณสมัย วิทยากรรับเชิญ มาบรรยายเรื่องการใช้น้ำหมักกับต้นยางพารา

อ.ต่อ มาแนะนำเรื่องการใช้น้ำหมักกับแปลงผัก

 กลุ่มศบ.จากบุรีรัมย์ เดินทา่งมาดูงานในครั้งนี้หลายท่าน

 
กลุ่มทำดีด้วยรัก (คจ.ความหวังกรุงเทพฯ)
ร่วมหั่นส้มโอเพื่อใช้ในการหมัก

อ.ต่อแนะนำการหมักกับเกษตรกรที่เข้าร่วมอบรม

 ถัง 200 ลิตร หมักเต็มถัง

ปิดฝาด้วยถุงพลาสติกเจาะรู
 
 ในเวลาเดียวกันกลุ่มแม่บ้านเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์
เพื่อใช้ในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ

 หลังจากนั้นทีมงานก็เข้าชมสวน

 ไร่ถั่วเขียวที่ใช้ BeztDM เต็มรูปแบบ

ผลผลิตงดงาม

ด้วงเต่าสีส้มมีเต็มไร่ และไม่มีเพลี้ยให้เห็นสักตัว

ด้วงเต่าสีส้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Micraspis discolor จัดเป็นตัวห้ำ คือสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่กินสัตว์อื่นหรือเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า และอ่อนแอกว่าเป็นอาหาร ตัวห้ำจะกินเหยื่อได้หลายชนิด และสามารถกินทุกระยะการเจริญเติบโตของเหยื่อ คือ ไข่ ตัวอ่อนหรือตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย เป็นแมลงที่มีประโยชน์ต่อพืช เพราะช่วยทำลายแมลงบางชนิดที่คอยมาทำลายพรรณพืช โดยเฉพาะต้นอ้อยที่อยู่ในไร่ ลักษณะลำตัวยาว 4 มิลลิเมตร กลมๆ ตัวสีเหลืองส้มมองเห็นชัดเจน และไม่มีลวดลายบนลำตัว    

ลักษณะของด้วงชนิดนี้อยู่ที่การทำลาย โดยจะกัดกินเหยื่อที่เคลื่อนไหวช้า เพราะฉะนั้นเหยื่อตัวไหนที่เกาะบริเวณต้นอ้อยและเชื่องช้าจะโดนด้วงเต่าสีส้มจับกินเป็นอาหารเสมอ ในระยะที่มันเป็นตัวอ่อนจะกินเพลี้ยอ่อนได้ประมาณ 60-70 ตัวต่อวัน ตลอดชีวิตทำลายเพลี้ยอ่อนได้มากถึง 1,547 ตัว

 
นาข้าวที่ใช้ BeztDM ฉีดพ่น หลังเกี่ยว ข้าวยังคงงอกต่อ
ซึ่งเรากำลังดูผลว่าข้าวจะออกรวงอีกครั้งไหม?

  อ.ต่อ แนะนำทีมงานในนาข้าว

ผลจากการใช้น้ำหมักชีวภาพกับต้นยาง
ผลก็คือต้นยางมีน้ำยา่งมากกว่าปกติจนเต็มถ้วย

อ.ต่อบอกว่า แค่เอาน้ำหมักฉีดพ่นที่ลำต้น

ถ้วยนี้ไม่ได้ใช้น้ำหมัก BeztDM ฉีดพ่น จึงได้น้ำยางไม่เต็มถ้วย

แท่นรีดยาง ซึ่งปัจจุบันไม่ใช้แล้ว เพราะขายยางเป็นถ้วยดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น