นอกจากดูหญ้าเนเปียร์แล้ว วันต่อมาเราก็ไปเยี่ยมชม "วัวพันธ์ตาก" ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ศึกษาวิจัย พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อพันธุ์ใหม่ (Synthetic Breeds) ตาม “ โครงการสร้างโคเนื้อพันธุ์ตาก ” ซึ่งเริ่มดำเนิน การตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529
โดยศึกษาด้าน การเจริญเติบโตเร็ว เลี้ยงง่ายในสภาพอากาศร้อนของประเทศไทยได้ดี รวมทั้งเมื่อนำไปเลี้ยงขุนแล้ว ต้องให้เนื้อที่มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด ตั้งแต่ระดับกลาง จนถึงระดับสูง
การสร้างโคพันธุ์ตากใช้วิธีการผสมข้ามพันธุ์ (Cross Breeding) ระหว่างโคพันธุ์ชาร์โรเลส์(Charolais) กับโคพันธุ์บราห์มัน(Brahman) ตามแผนผสมพันธุ์ แบบผสมสลับ (Criss Crossing) โดยลูกโคชั่วอายุที่ 1 จะมีระดับสายเลือดพันธุ์ชาร์โรเลส์ 50% พันธุ์บราห์มัน 50% คัดเลือกลูกโค เพศเมีย ที่มีคุณสมบัติและลักษณะตรงตามเกณฑ์ นำไปผสมกับโคพันธุ์บราห์มัน ได้ลูกโคชั่วอายุที่ 2 ซึ่งมีระดับสายเลือด พันธุ์ชาร์โรเลส์ 25 % พันธุ์บราห์มัน 75% คัดเลือกลูกโคเพศเมียที่มีคุณสมบัติและลักษณะ ตรงตามเกณฑ์ นำไปผสมกับ โคพันธุ์ชาร์โรเลส์ ได้ลูกโคชั่วอายุที่ 3 ซึ่งมีระดับสายเลือดพันธุ์ชาร์โรเลส์ 62.5% พันธุ์บราห์มัน 37.5% ซึ่งเป็นระดับสาย เลือดโคเนื้อที่เหมาะสมโดยมีคุณสมบัติและลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์ คัดเลือกลูกโคทั้งเพศผู้ และเพศเมียแล้วนำมา ผสมพันธุ์กัน (Interse Mating) เพื่อคงระดับสายเลือดพันธุ์ชาร์โรเลส์ 62.5% พันธุ์บราห์มัน 37.5% เรียกว่า “ โคพันธุ์ตาก ”