ค้นหาบล็อกนี้

27 กุมภาพันธ์ 2554

แผ่นพับรณรงค์ลดโลกร้อน

เป็นแผ่นพับที่ใช้ในการรณรงค์ลดโลกร้อนด้วยน้ำหมักชีวภาพ BeztDM ถ้าเราช่วยกันก็จะลดขยะอินทรีย์ที่มีถึง 64% ได้ เพราะการหมักจะเปลี่ยนมีเทนเป็นแอลกอฮอล์ และยังลดปริมาณขยะอีกด้วย แถมยังขายน้ำหมักได้อีก เรียกได้ว่าได้ประโยชน์หลายต่อ



กินส้มตำ กับผักแกล้ม ช่วยขับลม

 แปลงผักหน้าบ้าน ปลูกกินเอง
รับรองความสด และกรอบ

หลังจากที่ อ.อภิรักษ์ ได้ไปเยี่ยมชมไร่นาสวนผสมของเกษตรกรกว่า 20 จังหวัดในแต่ละภาค ก็เริ่มสนใจเรื่องผักผลไม้ที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ และซื้อผักหลายชนิดมาเพาะพันธุ์ที่หน้าบ้าน ซึ่งผักเหล่านี้ใช้กินกับส้มตำ อาหารยอดนิยมของคนไทยที่มีแทบทุกจังหวัดที่เป็นเมืองท่ิองเที่ยว

ตำแตง แซ่บหมายเลข 3
แตงร้าน เป็นยาระบายความร้อนในกระเพาะอาหารและปอด

ตำถั่ว แซ่บหมายเลข 2
ถั่วฝักยาว บำรุงม้าม ไต แก้กระหายน้ำ

ส้มตำปู แซ่บหมายเลข 1
มะละกอดิบ ขับลม แก้ขัดปัสสาวะ

ส้มตำไทย


วันนี้ขอแนะนำผักที่ใช้กินกับส้มตำ ที่ให้ทั้งรสชาดและคุณประโยชน์

ผักพาย หรือตาลปัตรฤาษี
ช่วยให้เจริญอาหาร และป้องกันไข้หัวลม

ผักขะแยง
มีรสเผ็ดร้อน แซ่บ ใช้ขับลม เป็นยาระบายอ่อนๆ

ผักไผ่
มีรสเผ็ดร้อน แซ่บเหมือนกัน ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร

 ใบสะระแหน่
แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร


ท่านใดที่มีปัญหาเรื่องลมในท้อง ก็ลองหาผักเหล่านี้มาปลูกหน้าบ้าน เพราะราคาไม่แพง แค่ 40 บาท ก็ได้มา 1 กระถาง อีกทั้งยังเพาะพันธุ์ต่อได้อีก กินไม่มีหมด ที่สำคัญ ใช้น้ำหมัก BeztDM รดผักอาทิตย์ละครัง ผักจะงอกงามมากครับ

20 กุมภาพันธ์ 2554

พลิกฟื้นคืนชีวิต...ด้วยเกษตรอินทรีย์

เป็นคลิปเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจครับ มาจากเว็บ http://www.communitylife.or.th/
ใครที่สนใจเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ดูคลิปเหล่านี้ก็จะได้แรงบันดาลใจแน่นอนครับ





 

เยี่ยมสวนลิ้นจี่ ชมพู่มะเหมี่ยว ส้มโอ ที่อัมพวา สมุทรสงคราม

เมื่อวันที่ 19 กพ. ทีมงาน BeztDM ไปเยี่ยมชมสวนลิ้นจี่ ชมพู่มะเหมี่ยว ส้มโอ ที่อัมพวา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ โดยการแนะนำจากเจ้าของสวนตัวจริงที่บุกเบิกการทำลิ้นจี่ ชมพู่มะเหมี่ยวมาหลายสิบปี และยังไม่ใช้เคมีในการทำสวนนี้ด้วย จึงเข้ากับแนวคิดที่เรากำลังทำกันอยู่

 ลิ้นจี่กำลังเป็นผลเล็กๆ (ภาพเบลอพอดี)

ผลชมพู่มะเหมี่ยวที่ดังที่สุดในอัมพวาอยู่ที่นี่

ผู้ใหญ่สนธยา เล่าว่า แรกเริ่มเดิมทีการปลูกชมพู่มะเหมี่ยวของเกษตรกรในแถบนี้ ยังไม่เป็นล่ำเป็นสันนัก เนื่องจากขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องการดูแล และการรักษา อีกทั้งราคาชมพู่มะเหมี่ยวไม่ดีเท่าที่ควร แต่ปัจจุบันแนวโน้มทางด้านราคาดีขึ้นมาก จึงมีเกษตรกรหันมาปลูกชมพู่มะเหมี่ยวกันมากขึ้น ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกชมพู่มะเหมี่ยวในจังหวัดสมุทรสงครามประมาณ 100 กว่าราย ถือว่าเป็นผลไม้หลักของจังหวัดสมุทรสงคราม รองมาจากส้มโอและลิ้นจี่ แต่ที่น่าเสียดายชมพู่มะเหมี่ยวมักติดดอกออกผลไม่ดกเหมือนชมพู่พันธุ์ธรรมดา กิ่งหนึ่งจะติดลูกประมาณ1-3 ลูกเท่านั้น แต่ลำต้นใหญ่ จึงใช้พื้นที่มากในการเพาะปลูกกว่าพืชชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะปลูกเป็นพืชแซม ในสวนลิ้นจี่และส้มโอ เป็นต้น 

บรรยากาศสวนลิ้นจี่ เป็นร่องน้ำแบบนี้

ต้องห่อทุกผลเพื่อป้องกันแมลง

ขวดพลาสติกดักแมลง ใช้ได้ผลดี

ภูมิปัญญาชาวบ้านในการดักแมลง

ดอกลิ้นจี่เป็นอย่างนี้ 
ที่นี่ยังเลี้ยงผึ้ง และทำน้ำผึ้งดอกลิ้นจี่ด้วย

สนธยา ตันติรักษ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 ตำบลสวนหลวง
เป็นเจ้าของสวนอีกด้วย

ส้มโอ พันธุ์ขาวใหญ่ ก็มีที่นี่ด้วย

17 กุมภาพันธ์ 2554

นักวิชาการไขข้อข้องใจน้ำหมักชีวภาพ

ตัดข่าว : นักวิชาการไขข้อข้องใจน้ำหมักชีวภาพ

เริ่มตั้งแต่กินได้หรือไม่ หมักยิ่งนานยิ่งดีจริงหรือ?

หวังสร้างความกระจ่าง กรณีน้ำหมักชีวภาพ หรือมหาบำบัด

น้ำหมักชีวภาพมีบทบาทเป็นทางเลือกในการส่งเสริมสุขภาพ แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาหลายด้าน เช่น เรื่องคุณภาพมาตรฐาน รูปแบบการจำหน่าย และการโฆษณา  กรณีข่าวที่เกิดขึ้น มีประชาชนจำนวนมากติดตามข่าวและมีข้อสงสัยหลายประการ ดังนั้นการแยกแยะประเด็นจากข่าวเรื่องน้ำหมักชีวภาพจึงมีความจำเป็นทั้งต่อ ผู้ผลิตและผู้บริโภค

ประการแรก น้ำหมักชีวภาพ ใช้กับคน พืชหรือสัตว์ กันแน่

 ก่อนอื่นต้องรู้จักน้ำหมักชีวภาพก่อน ว่า น้ำหมักชีวภาพโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

(1)น้ำหมักชีวภาพที่ใช้สำหรับพืชและสัตว์

(2 ) น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค

ทั้งสองประเภทมีความแตกต่าง คือ

ประการแรก เป็นความความแตกต่างในเรื่อง วัตถุดิบและกระบวนการผลิต  เช่น
  • น้ำหมักชีวภาพที่ใช้สำหรับพืชและสัตว์ มักใช้วัตถุดิบที่มาจากขยะ, สิ่งเหลือใช้ทั้งจากพืชจากสัตว์ หรือบางสูตรอาจใช้พืช ผัก และผลไม้ ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ในพืชหรือสัตว์แต่ละชนิด  โดยกระบวนการผลิตจะทำอย่างง่ายเพื่อใช้ในภาคเกษตร
  • ส่วนน้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค จะต้องคัดเลือกวัตถุดิบ เช่น พืช ผัก ผลไม้ โดยวัตถุดิบแต่ละชนิดจะมีกระบวนการคัดเลือกตามคุณสมบัติเพื่อการบริโภคทั้ง ด้านโภชนาการ และสรรพคุณของพืชนั้นๆ
 ที่สำคัญคือกระบวนการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภคจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ มี การควบคุมความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นจนขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตโดย ไม่ให้มีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายทั้งจากวัตถุดิบหรือที่เกิดขึ้นในกระบวน การหมัก และต้องผลิตให้ได้ตามมาตรฐานน้ำหมักสำหรับการบริโภค

ในปัจจุบันมีการพัฒนาใช้เอนไซม์หัวเชื้อในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ  หรือต้นเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตนั้นอาจเป็นได้ทั้งรูปแบบอย่างง่าย คือ ต้นเชื้อที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และต้นเชื้อบริสุทธิ์ที่สามารถควบคุมทั้งความปลอดภัยของน้ำหมัก และยังสามารถทำให้ได้คุณภาพ และประสิทธิผลต่อสุขภาพจากต้นเชื้อและสารเมทาบอไลต์ที่ได้จากต้นเชื้อ

ต้นเชื้อบริสุทธิ์ หรือเอนไซม์หัวเชื้อนี้จะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกหรือกระบวนการหมัก ให้ได้ต้นเชื้อหรือเอนไซม์บริสุทธิ์ที่มีคุณสมบัติเพียงพอในการใช้ผลิตน้ำ หมักชีวภาพให้ปลอดภัยในการบริโภค จึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ มาประกอบพอสมควร

ประการที่สอง น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภคที่ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

 ประเด็นนี้เป็นที่รับรู้กันว่า เมื่อมีการหมักจะต้องมีจุลินทรีย์เกิดขึ้น ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่เพียงแต่มีจุลินทรีย์ หากแต่มีหลายสิ่งที่ปนเปื้อนซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เช่น เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้มี เมทาทอล เอทานอล และกลุ่มฟูเซลล์ออยล์ (Butanol, Propanol) ซึ่งหากรับประทานจะทำให้มึนหัว ดังนั้น เราต้องมีการควบคุมคุณภาพให้ได้น้ำหมักที่ดีคือ
  1. ไม่พบสิ่งปลอมปน 
  2. เอทานอลต้องไม่เกินร้อยละ 3 
  3. เมทานอลต้องไม่เกิน 240 มิลลิกรัมต่อลิตร
 ส่วนจุลินทรีย์นั้นในการหมักอาจพบจุลินทรีย์ได้ 2 กลุ่มคือ 
  1. กลุ่มก่อโรค
  2. กลุ่มเสริมสุขภาพ

จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคที่ต้องควบคุม คือ
  • ซาลโมเนลลา ต้องไม่พบในตัวอย่าง 50 กรัม 
  • สตาฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้องไม่พบในตัวอย่าง 1 มิลลิกรัม  
  • คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์  ต้องไม่พบในตัวอย่าง 0.1 กรัม 
  • เอสเชอริเชีย โคไลต้องน้อยกว่า 2.2 ต่อตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร 
  • ยีสต์และราต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร 

 ส่วนจุลินทรีย์ที่ดี คือ
  1. จุลินทรีย์เสริมชีวนะหรือโปรไบโอติก (probiotic) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดกรดแลกติก (กรดน้ำนม) จุลินทรีย์ชนิดนี้ ถูกนำใช้ในการผลิตโยเกิร์ต นมเปรี้ยว มีประโยชน์ คือ ช่วยไม่ให้เชื้อก่อโรคเจริญได้ ปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ช่วยในการเหนี่ยวนำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล 
  2. นอกจากนี้ยังพบคุณสมบัติของจุลินทรีย์เสริมชีวนะในการช่วยลดการเกิดสาร ก่อมะเร็ง และกลไกที่ชักนำให้เกิดมะเร็งจากการสามารถย่อยและจับสารก่อมะเร็งเอาไว้ได้ รวมถึง การลดการทำงานของเอนไซม์ที่มีกิจกรรมก่อให้เกิดสารพลอยได้ที่เป็นสารก่อ มะเร็ง เป็นต้น ยกตัวอย่างจุลินทรีย์กลุ่มนี้ คือ  แบคทีเรีย แลกโตบาซิลลัส เคซิอิ (Lactobacillus casei) แลกโตบาซิลลัส อะซิโดฟิลุส (Lactobacillus acidophilus) แลกโตบาซิลลัส แพลนทารัม (Lactobacillus plantarum) เป็นต้น

 การควบคุมอีกเรื่องที่สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในการหมัก คือ กรด ซึ่งโดยทั่วไปกรดที่เกิดในกระบวนการหมักถือเป็นการถนอมอาหารไปในตัว ความเป็นกรดของน้ำหมักเพื่อการบริโภคต้องมีค่าความเป็นกรดด่าง หรือค่าพีเอช (pH) ต่ำกว่า 4.3 จึงจะควบคุมการเจริญของเชื้อก่อโรคได้

"สำหรับกรณีที่เป็นข่าวว่านำน้ำหมักไปใช้หยอดตานั้น  โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์สำหรับตานั้นต้องไม่มีจุลินทรีย์ รวมทั้งต้องปรับสภาพความเป็นกรดด่างให้มีค่า 7.4 เพื่อไม่ให้ระคายเคืองต่อตา การนำน้ำหมักที่ยังไม่ผ่านกระบวนการใด ๆ ไปหยอดตาถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควร"


 ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค คือ ได้จากจุลินทรีย์ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับว่าหัวเชื้อเป็นอย่างไร และประโยชน์จากคุณค่าสารสำคัญตามชนิดของพืชผักผลไม้ที่นำมาใช้หมัก เพราะการหมักเป็นการแปรรูปที่เป็นการสกัดสารสำคัญในพืชผักผลไม้ ซึ่งในประเทศไทยเรามี พืชวัตถุดิบมากมายที่นำมาใช้ เช่น ลูกยอ มะขามป้อม ผลไม้ชนิดต่าง ๆ ตามฤดูกาล

ดังนั้น น้ำหมักชีวภาพที่ดี ก็ต้องมีสารสำคัญของพืชผักผลไม้ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งในการหมักจะมีสารสำคัญออกมา สารสำคัญนี้แหละที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากโปรไบโอติก ดังนั้นในวัตถุดิบที่เราหมัก จะใช้เวลาแตกต่างกันที่จะสกัดสารสำคัญออกมา

ประการที่สาม หมักยิ่งนานยิ่งดีจริงหรือ

   การหมักแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาที่เหมาะสม 2 องค์ประกอบ คือ
  1. ระยะเวลาของการเจริญของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งหากมีการหมักนานกว่า 2 ปี จุลินทรีย์กลุ่มนี้ ก็จะตายหรือหมดไป   อีกประการหนึ่งคือ  การหมักจะทำให้เราได้สารสำคัญออกมา เพราะเมื่อสารสำคัญออกมาหมดแล้ว กระบวนการสกัดก็สิ้นสุดลง เหลือเพียงกระบวนการเปลี่ยนแปลงขนาดของโมเลกุลให้เล็กลง เมื่อเวลาหมักนานขึ้น

 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อคุณสมบัติของน้ำหมัก คือ เมื่อมีการหมักอาจทำให้วิตามินซีสลายตัวไป โดยปกติคนเราจะคิดว่ารสเปรี้ยวแสดงว่ามีวิตามินซี ตรงนี้เป็นความเข้าใจผิด สำหรับน้ำหมักจะมีรสเปรี้ยวเพราะเกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มแลกติกที่อยู่ใน กระบวนการหมัก ส่วน ภาชนะบรรจุ  แสง อุณหภูมิ และ อากาศ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้คุณสมบัติของน้ำหมักไม่คงตัว ดังนั้นการควบคุมคุณภาพของน้ำหมักเพื่อการบริโภคจึงต้องดูปัจจัยที่เกี่ยว ข้องเหล่านี้ด้วย

ประการที่สี่ น้ำหมักชีวภาพใช้ได้ครอบจักรวาลหรือไม่

 ประเด็นนี้แหละที่เกิดปัญหาโฆษณาเกินจริง เพราะมีการเหมารวม ซึ่งไม่ถูกต้อง
  • ประการแรกน้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภคเป็นการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (พืช ผัก ผลไม้) เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ใช่เป็นยา  
  • ประการที่สอง น้ำหมักแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติต่างกัน จากวัตถุดิบที่ต่างกันและหัวเชื้อต่างกัน ดังนั้นน้ำหมักแต่ละชนิดไม่สามารถดูแลสุขภาพได้ครอบจักรวาล

ประการที่ห้า น้ำหมักชีวภาพแบบภูมิปัญญาชาวบ้านใช้ไม่ได้หรือ

 เรื่องนี้เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของประเทศไทยเรา ที่มีภูมิปัญญาดั้งเดิมสำคัญคือ
(1) กระบวนการหมักของชุมชน
(2) วัตถุดิบพืชผักผลไม้ไทยที่หลากหลาย และ
(3) ภูมิปัญญาการนำพืชไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์

 ทั้งสามประการนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของน้ำหมักชีวภาพ แต่ประเด็นที่อยากทำความเข้าใจคือ แต่เดิมมาการใช้น้ำหมักชีวภาพ ใช้เป็นลักษณะพื้นบ้าน ผลิตกันเองในครอบครัวหรือในหมู่บ้าน ไม่ได้ทำจำนวนมาก ไม่มีการขาย ไม่มีการเห่อตามกระแส แต่ปัจจุบันมีการผลิตเพื่อการจำหน่ายมากขึ้น การควบคุมคุณภาพมาตรฐานจึงต้องมีการพัฒนา  เพื่อความปลอดภัย และเพื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างสุขภาพ

 ปัจจุบันมีความพยายามพัฒนาน้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภคในชุมชนตลอดมา และขณะเดียวกันก็มีการต่อยอดการวิจัยมากมาย เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพมาตรฐาน  จึงมีการวิจัยร่วมกับชุมชน  เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตโดยใช้ต้นเชื้อผักดอง

 ทั้งนี้  ฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับศูนย์ประสานงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ศพช.อย.) ได้เข้ามามีบทบาทในแง่ของการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยในเรื่องดังกล่าว

  โดยมี ผศ.ดร.ไชยวัฒน์ ไชยสุต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน นำไปสู่การถ่ายทอดความรู้ แนะนำแนวทางการผลิตโดยการนำเทคโนโลยีชีวภาพอย่างง่ายๆเข้ามาช่วย ตลอดจนผลักดันในการวางตัวบทกฎเกณฑ์ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพให้เป็นมาตรฐาน เดียวกัน

จนได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 481/2547 (มผช.481/2547) เป็นมาตรฐานรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค และยังได้ร่วมมือกันจัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ อยู่เสมอ เช่น โครงการเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-learning)   การจัดเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบหนังสือและซีดี

 โดยจะมีการจัดถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภคขึ้นอีก ในระหว่าง วันที่ 13-14 มีนาคม 2553 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2553  ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. ติดต่อเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ที่ฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม สวทช. โทร. 02-5648000 หรือคณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร 086-4488073 และติดต่อบทเรียนอิเลคโทรนิคส์ได้ที่ ศูนย์หนังสือสวทช.โทร. 02-5647000

 “หากชุมชนหรือผู้ประกอบการต้องการที่จะผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค ควรเพิ่มเติมความรู้เพื่อการผลิตที่ดี และพึงตระหนักว่าน้ำหมักชีวภาพไม่ใช่ยา แต่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน  จึงไม่ควรหลงเชื่อการโฆษณาเกินจริง”

ผศ.ดร.ไชย วัฒน์ ไชยสุต ผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัยน้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค  อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ข้อมูลจาก http://friutenzyme.blogspot.com/2010/02/blog-post_22.html

แนะนำเว็บไซต์น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำเอนไซม์จากผลไม้รวม ดร.รสสุคนธ์

http://friutenzyme.blogspot.com/

เว็บไซต์นี้เป็นเว็บเกี่ยวกัีบน้ำเอนไซม์จากผลไม้รวม ดร.รสสุคนธ์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งน่าสนใจมาก หากท่านเป็นผู้สนใจน้ำหมัก

ตัวอย่างเรื่องที่น่าสนใจ http://friutenzyme.blogspot.com/2010/03/4812547.html


มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำหมักพืช (มผช. 481/2547)

ฉบับย่อเฉพาะใจความสำคัญ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
ปัจจุบันได้มีการกำหนดมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำหมักพืชขึ้นมาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการบริ โภค โดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้จะครอบคลุมเฉพาะน้ำหมักพืชแท้และน้ำหมักปรุง พร้อมดื่ม บรรจุในภาชนะ เท่านั้น
คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
  • ลักษณะทั่วไป ต้องเป็นของเหลว อาจตกตะกอนเมื่อวางตั้งทิ้งไว้ อาจมีชิ้นเนื้อพืชปนอยู่ได้บ้างเล็กน้อย
  • มีสี กลิ่น และกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ และกรรมวิธีการผลิตที่ปราศจากกลิ่นรสดื่นที่ไม่พึงประสงค์
  • ต้องไม่พบสิ่งแปลก ปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่วัตถุเจือปนอาหาร (ถ้ามี) หากมีการใช้วัตถุกันเสีย ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กฏหมายกำหนด
  • เอทิลแอลกอฮอล์ ต้องไม่เกินร้อยละ 3 โดยปริมาตร
  • เมทิลแอลกอฮอล์ ต้องไม่เกิน 240 มิลลิกรัมต่อลิตร
  • ความเป็นกรด – ด่าง ต้องไม่เกิน 4.3
จุลินทรีย์
1. ซาลโมเนลลา ต้องไม่พบในตัวอย่าง 50 กรัม
2. สตาฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้องไม่พบในตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
3. คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ต้องไม่พบในตัวอย่าง 0.1 กรัม
4. เอสเชอริเซีย โคไล โดยวิธีเอ็มพีเอ็น ต้องน้อยกว่า 2.2 ต่อตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
5. ยีสต์และรา ต้องไม่เกิน 100 โคโลนี ต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร

สำหรับผู้ที่ต้องการของรับรองการผลิตให้ติดต่อที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจังหวัด ทุกจังหวัด เพื่อขอการรับรองมาตรฐาน พร้อมการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ได้ หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เวปไซด์ http://www.tisi.go.th (มผช.481/2547)

15 กุมภาพันธ์ 2554

พิษของกากน้ำตาล


ปัญหาของกากน้ำตาล เกิดจากการนำไปหมักกับพืชผักผลไม้ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ อาจจะเป็น 7 วัน 15 วัน แล้วนำไปใช้ ก็จะทำให้เกิดปัญหากับดิน หรือเกษตรกรบางท่านผสมกากน้ำตาลกับน้ำหมักชีวภาพแล้วฉีดพ่น หรือรดพืชผักผลไม้เลย ก็จะทำให้เกิดปัญหาแก่ดินอีกเช่นกัน

หากต้องการใช้กากน้ำตาล ในการหมักน้ำเอนไซม์สำหรับพืชก็ต้องนำน้ำเอนไซม์ มาหมักกับกากน้ำตาลในอัตราส่วน

อ่านต่อ คลิกที่นี่

ปลูกผักสวนครัว ทำเองได้ไม่ยาก

diy_kitchengaden01 

ปัญหา เศรษฐกิจ และการเมืองที่อาจจะทำให้ใครหลายๆคนเครียด? หากมีเวลาลองหันมาปลูกผักกันดูบ้าง นอกจากช่วยให้ประหยัดรายจ่ายในส่วนของผักแล้ว? ยังได้ผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ ที่สำคัญการให้เวลาส่วนหนึ่งกับการปลูกและดูแลผักจะช่วยให้คุณลดความเครียด ได้อีกด้วย

เรากำลังจะบอกคุณถึงการปลูกผัก ที่คุณสามารถลองทำเองได้ไม่ยาก? เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่ว่างค่อนข้างจำกัด เช่น บ้านจัดสรร ระเบียงคอนโดมิเนียม หรืออพาร์ทเมนต์? เป็นแนวทางสำหรับการปลูกผักแบบอินทรีย์ โดยคุณไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆเลยในการปลูก

อ่านต่อ คลิกที่นี่

12 กุมภาพันธ์ 2554

แม้แต่เด็ก 10 ขวบ ก็หมักน้ำชีวภาพได้

มีหลายคนบอกว่าการหมักน้ำชีวภาพมันยุ่งยาก หลายอย่างตั้งแต่หาวัตถุ ผักผลไม้มาหมัก ถังหมัก กากน้ำตาล และอื่นๆ อีกมากมาย

แต่มาตอนนี้ การหมักน้ำชีวภาพเป็นเรื่องง่ายๆ เด็กๆ ก็ทำได้

1. ไปขอเปลือกสับปะรดมาจากแม่ค้าในตลาดแถวบ้าน อันนี้ฟรีครับ
แต่ถ้าอายก็ขอซื้อมาเลย สับปะรดที่ใกล้จะเสียก็ใช้ได้ครับ

เปลือกสับปะรดมีทั่วกรุงเทพฯ ตามร้่านขายผลไม้

2. เทสับปะรดลงในถังทั่วไป

3. ฉีก BeztDM 1 ซอง

4. เทลงในถังที่มีสับปะรด

 5. เทน้ำให้ัท่วมสับปะรดแบบปิ่มๆ

น้ำเกือบเต็มถัง

ถังแบบนี้หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป 
(ราคาถังมีหลายราคา 90-120 บาท ก็พอครับ)

6. ปิดฝาให้เรียบร้อย

7. ทิ้งไว้แค่ 2-3 วัน จนเกิดฝ้าแบบนี้ ก็แยกน้ำและกาก
นำน้ำหมักไปใช้ได้แล้วครับ

10 กุมภาพันธ์ 2554

จัดอบรม กศน.ที่คลองเตย

ทีมงาน BeztDM จัดอบรมพิเศษวันอาทิตย์ที่ 6 กพ. ที่ กศน.ของมูลนิธิความหวังของชาวไทย คลองเตย โดยบรรยายเรื่องปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการทิ้งขยะเปียกถึง 64% ก่อให้เกิดก๊าซมีเทน แต่เมื่อเราหมักน้ำชีวภาพ BeztDM จะสามารถเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลเปลี่ยนมีเทนให้กลายเป็นแอลกอฮอล์เรียกว่า "เอสเตอร์" ทำให้ระงับการเกิดมีเทนได้่

นักศึกษาที่เข้าร่วมอบรม

เศษผักผลไม้จากตลาดคลองเตยเตรียมไว้ตั้งแต่ตี 5

ป้ายกศน. ของที่นั่น

เตรียมแยกขยะเพื่อการหมัก

หยิบผักผลไม้ใส่ถุงหมัก

เทกันเป็นกล่องเลย

เศษขยะแบบนี้มีทุกวันที่ตลาดคลองเตย
ถ้านำมาหมักจะลดขยะได้วันละหลายกิโล
จากนั้นจะนำน้ำหมักกลับไปใช้ในตลาดอีกโดยการราด
เพื่อดับกลิ่นเหม็น ได้ประโยชน์ 2 ต่อ

กลุ่มนักศึกษาที่ร่วมอบรม

02 กุมภาพันธ์ 2554

ไผ่เป๊าะช่อแฮ ที่จ.แพร่

ที่แพร่ คุณประสิทธิ์ ยังพาเราไปชมกอไผ่พื้นเมือง ซึ่งเป็นไผ่ประจำของท้องที่นั่นคือ "ไผ่เป๊าะช่อแฮ" ซึ่งดูน่ากินมาก ทางทีมงานนำกลับมารับประทานด้วย

น้ำหมักสูตรพิเศษที่ใช้กับไผ่คือ ไส้ปลา+ผลไม้รสเปรี้ยว(เช่นสับปะรด)+BeztDM นำมารดที่โคนต้นไผ่ จะเพิ่มผลผลิตได้ดี

ดงไผ่ของคุณประสิทธิ์ที่ จ.แพร่

ช่วงเดือนมค. เป็นช่วงที่ไผ่ออกหน่อให้เก็บผลผลิตไปขายได้

กอไผ่ ถูกจัดปลูกเป็นกลุ่มๆ

ใช้ฟางข้าวคลุมที่โคนต้นเพื่อรักษาความเย็น

คุณประสิทธิ์กำลังตัดไผ่

ไผ่เป๊าะช่อแฮ หวานอร่อย

มีดพิเศษที่ใช้ตัดหน่อไผ่

ที่แพร่ก็ใช้ BeztDM กับกะหล่ำดอก

วันที่ 31 มค. ทีมงาน BeztDM ยังคงอยู่ที่ภาคเหนือ จังหวัดสุดท้ายที่ไปเยี่ยมเยียนคือจังหวัดแพร่ ที่อ.สูงเม่น พบเกษตรกรใช้หัวเชื้อชีวภาาพกับกะหล่ำดอก ให้ผลดีเกินคาด โดยใช้ใบกะหล่ำมาหมักและใช้รดแปลงผัก

แปลงนาช่วงพัก นำมาปลูกกะหล่ำดอก
ฤดูหนาวให้ผลผลิตดีมาก

กะหล่ำดอกที่จ.แพร่

จากนาเป็นไร่กะหล่ำดอก

ดอกสวยๆ จะเป็นแบบนี้

ดอกที่เสีย ที่ถูกทิ้งไว้ นำมาหมักได้

 แปลงผักแบบนี้มีหลายแห่งที่จ.แพร่

 ถ่ายให้ดูหลายๆ มุม

 กำลังโต

 คุณประสิทธิ์เกษตรกรผู้ใช้ BeztDM ถ่ายภาพกับอ.อภิรักษ์

 มะเฟืองหมักโดย BeztDM ให้สีน้ำหมักเหลืองสวยและหอมกลิ่นผลไม้ต้นแบบ

กล้วยตานีก็หมักได้ดี นำน้ำหมักไปรด ผักก็งอกงามดีมาก